ประวัติหมอลำ

ประวัติหมอลำ 

การลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
             ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
             การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 – 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า “หมอลำหมู่” ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2510
 
หมอลำ  ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย

                คำว่า  “ลำ”  มีความหมายสองอย่าง  อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ  เช่น  เรื่องนกจอกน้อย  เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ   กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า  กลอนลำ

         อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา     ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า “หมอลำ”

3 ความเห็น »

  1. preaw said,

    ประวัติ ของหมอลำบ้านเฮานิก่ะดีน้อ

    วัฒนธรรมอิสานพื้นบ้าน

    ดีจังอ่ะ

    🙂

  2. ปลา said,

    ไม่น่าเชื่อประวัติหมอลำ

    ดูตลกดีแฮะ

  3. สิแตก said,

    มันมาก


ส่งความเห็นที่ ปลา ยกเลิกการตอบ